โครงสร้างการบริหารงาน

โครงสร้างการบริหารงาน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน


อำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ

องค์กร
เป็นองค์กรตรวจสอบอิสระและเป็นกลาง ประกอบด้วย   คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน   คณะกรรมการวินัยทางงบประมาณและการคลัง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน โดยมีการรายงานผลปฏิบัติงานดังนี้

สตง. จัดทำรายงานผลปฏิบัติงานประจำปีเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี
สตง. จัดทำรายงานผลปฏิบัติงานระหว่างปีเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีตามความจำเป็นและเหมาะสม (ม.49)
รายงานที่ผ่านการพิจารณาตาม (1) และ (2) ให้เผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ (ม.48 ว.3)
อำนาจหน้าที่
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.)
วางนโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน (ม.15 ว.แรก)
ให้คำปรึกษาแก่ประธานรัฐสภาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ คตง. (ม.15 (1))
ให้คำแนะนำแก่ผ่ายบริหารในการแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการควบคุมเงินของรัฐ (ม.15(2))
กำหนดมาตฐานหรือมาตรการเกี่ยวกับการตรวจสอบการบริหารงบประมาณ สำหรับหน่วยรับตรวจ (ม.15(3))
เป็นองค์กรชี้ขาดสูงสุดในกระบวนการทางวินัยทางงบประมาณและการคลัง (ม.15(5))
พิจารณาคัดเลือกผู้ว่าการ (ม.15(6))
แต่งตั้งกรรมการวินัยทางงบประมาณและการคลังหรือนุกรรมการ (ม.15(11)(12))
พิจารณาคำร้องขอของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือคณะรัฐมนตรีที่ขอให้ตรวจสอบ (ม.15(13))
ออกระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศตามอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน (ม.15(14))
เสนอข้อสังเกตและความเห็นต่อคณะกรรมาธิการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามมาตรา 16
ออกระเบียบ ประกาศเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป การบริหารงานบุคคล การงบประมาณ การเงินและการคลัง และการดำเนินการอื่น ตามมาตรา 52
คณะกรรมการวินัยทางงบประมาณและการคลัง
มีอำนาจหน้าที่พิจารณาและกำหนดโทษปรับทางปกครองเบื้องต้น แก่เจ้าหน้าที่หรือพนักงานของหน่วยรับตรวจที่ฝ่าฝืนมาตรการเกี่ยวกับการควบคุมการเงินของรัฐที่คณะกรรมการกำหนด (ม.19) 

ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบการปฏิบัติงานของ สตง. (ม.26)
ออกคำสั่งหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของ สตง. (ม.37(1))
กำหนดแผนการตรวจสอบ (ม.37(2))
แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ (ม.37(3))
ให้คำปรึกษา ความเห็น หรือข้อมูลแก่ คตง. (ม.37(5))
จัดจ้างที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ หรือสำนักงานเอกชน (ม.37 (6))
กำหนดค่าสอบบัญชี ค่าธรรมเนียมและค่าตอบแทนอื่น (ม.37(7))
รายงานผลการตรวจสอบต่อ คตง. และคณะกรรมการวินัยฯ (ม.37(8)(9))
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
รับผิดชอบงานธุรการของ คตง. (ม.39(1))
ตรวจสอบการเงินแผ่นดิน (ม.39(2))
ตรวจสอบการรับจ่าย การเก็บรักษาและการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สิน รวมทั้งตรวจสอบผลการดำเนินงาน
ตรวจสอบรายงานการรับจ่ายเงินประจำปีและงบแสดงฐานะการเงินแผ่นดิน
ตรวจสอบบัญชีทุนสำรองเงินตราประจำปี
ตรวจสอบการจัดเก็บและการประเมินภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น
จัดทำรายงานและติดตามผลการปฏิบัติงาน (ม.39(3)(4))
ตรวจสอบเงินราชการลับหรือเงินที่มีลักษณะคล้ายกัน (ม.40)